ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 267 มีนาคม 2562

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 267 มีนาคม 2562

ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix


     พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กฎหมายฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่การจัดเก็บภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ.2563
โดยเนื้อหาของพระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญ เพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ จำนวน 12 ฉบับ ให้รวมเป็นฉบับเดียวเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ลดความเหลี่อมล้ำให้สังคม ลดปัญหาการกักตุนเก็งกำไร และกระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น จึงสามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภทตามวัตถุประสงค์การใช้งานของทรัพย์สินเพื่อประเมินอัตราภาษี ได้ดังนี้

1.ที่ดินหรือ สิ่งปลูกสร้างที่ประกอบเกษตรกรรม  ซึ่งมีเพดานอัตราจัดเก็บ 0.15%  โดยยกเว้นภาษี 3 ปีแรกสำหรับบุคคลธรรมดา
   

มูลค่า ทรัพย์สิน อัตราภาษี
ไม่เกิน 75 ล้านบาท 0.01%
เกิน 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท 0.03%
เกิน 100 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 500 ล้านบาท 0.05%
เกิน 500 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท 0.07%
เกิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป 0.1%
2.ที่ดินหรือ สิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเพดานอัตราจัดเก็บ 0.3% 

มูลค่า ทรัพย์สิน อัตราภาษี
ไม่เกิน 50 ล้านบาท 0.02%
เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 75 ล้านบาท 0.03%
เกิน 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท 0.05%
เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป 0.1%
ทั้งนี้ ในกรณีบ้านหลังหลัก   หากเป็นเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดิน ให้ได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านบาทแรก ส่วนกรณีเป็นเจ้าของเฉพาะบ้านอย่างเดียว ได้รับการยกเว้นภาษี 10 ล้านบาท
3.ที่ดินหรือ สิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการพาณิชยก รรมและอุตสาหกรรม ซึ่งมีเพดานอัตราจัดเก็บ 1.2%
มูลค่า ทรัพย์สิน อัตราภาษี
ไม่เกิน 50 ล้านบาท 0.3%
เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท 0.4%
เกิน 200 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท 0.5%
เกิน 1,000 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท 0.6%
เกิน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป 0.7%
4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่รกร้างว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ คิดอัตราภาษีเริ่มต้นที่ 0.3% และเก็บเพิ่ม 0.3% ทุกๆ 3 ปี  แต่อัตราภาษีไม่เกิน 3%

มูลค่า ทรัพย์สิน อัตราภาษี
ไม่เกิน 50 ล้านบาท 0.3%
เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท 0.4%
เกิน 200 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท 0.5%
เกิน 1,000 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท 0.6%
เกิน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป 0.7%
    การได้รับยกเว้นภาษี
ที่ดินและสิ่ง ปลูกสร้างที่ได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัติฉบับ นี้ ได้แก่  ทรัพย์สินของรัฐ ศาสนสมบัติ องค์การระหว่างประเทศ สถานฑูต สถานกงสุล  ทรัพย์สินของสภากาชาด  ทรัพย์สินของมูลนิธิ สถานสาธารณะกุศล ทรัพย์สินของเอกชนเฉพาะส่วนที่ได้ยินยอมให้ทางราชการจัดให้ใช้เพื่อสาธารณะ ประโยชน์  ทรัพย์สินส่วนกลาง ที่ดินสาธารณูปโภค
    การบรรเทาภาระภาษี
การบรรเทาภาระภาษี ใน 3 ปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับเจ้าของที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประโยชน์ในการประกอบ เกษตรกรรมและสำหรับกรณีผู้ที่เสียภาษีมากขึ้น
(เมื่อเทียบกับ การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน รวมถึงภาษีบำรุงท้องที่) จะได้รับการบรรเทาภาระภาษี โดยในช่วง 3 ปีแรกจะทยอยเสียภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้น ดังนี้
-ปีที่ 1 25%ของภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้น
-ปีที่ 2 50%ของภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้น
-ปีที่ 3 75%ของภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้น
   
    ผลการพิจารณาสำหรับการรับรู้ผลกระทบจากพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่

อ้างถึง “หนังสือคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (สภาหอการค้า  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย) (กกร.)” เรื่อง การพิจารณาทางเลือกในการบันทึกบัญชีเพื่อรับรู้ผลกระทบจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรง งานฉบับใหม่ซึ่งกำหนดค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีนายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่า จ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน

    ผลการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562 มีมติเห็นว่า

•    กรณีเป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือ กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน (“กิจการ”)  ย่อหน้าที่ 103.1 ระบุว่า กิจการต้องรับรู้ต้นทุนบริการในอดีตเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อมีการแก้ไขโครงการ ดังนั้นกิจการจะรับรู้ต้นทุนบริการในอดีตเป็นค่า ใช้จ่ายทั้งจำนวนในกำไรหรือขาดทุนในปี 2561 หรือปี 2562 ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลยพินิจของกิจการในการพิจารณาว่าการแก้ไขโครงการเกิดขึ้นในปีใด
•    กรณีที่เป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ให้กิจการตั้งประมาณการหนี้สินตามดุลยพินิจของฝ่ายบริหารในงวดที่เกิดภาระผูกพันขึ้น (ตามหลักการรับรู้รายการในย่อหน้าที่ 304 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ)โดยบันทึก เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในกำไรหรือขาดทุน
คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีจึงขอประกาศผลการพิจารณา เรื่องดังกล่าวให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านทราบโดย ทั่วกัน
    ประชาสัมพันธ์การคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรมสรรพากร
เลขที่ข่าว   ปชส. 23/2562
วันที่แถลงข่าว 15 กุมภาพันธ์ 2562
เรื่อง ประชาสัมพันธ์การคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

    กรมสรรพากรได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อการบริการประชาชนด้วยการปรับปรุงกระบวน การให้บริการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเข้าบัญชี เงินฝากธนาคารผ่านระบบการโอนเงินแบบผ่านพร้อมเพย์ (Prompt Pay) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีโดยลดภาระในการเดินทางไป ธนาคารเพื่อนำเช็คไปเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ไม่ต้องรอรับเช็คคืนภาษีทางไปรษณีย์ รวมทั้งเป็นการแก้ปัญหาเรื่องเช็คคืนภาษีส่งไม่ถึงมือผู้รับหรือเช็คภาษีสูญหาย อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการ พิมพ์เช็คและจัดส่งทางไปรษณีย์ซึ่งเป็นต้นทุนของ ประเทศ แต่ปัจจุบันพบว่ายังมีผู้ขอคืนที่ไม่มีความประสงค์จะขอคืนภาษีเข้าบัญชีเงินฝาก ธนาคารผ่านระบบการโอนเงินแบบผ่านพร้อมเพย์ (Prompt Pay) จึงมีช่องทางการรับเงินคืนภาษีโดยให้ผู้ขอคืนนำหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาที่กรมจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ พร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชน และหรือเอกสารหลักฐานซึ่งแสดงถึงฐานะของผู้มีเงินได้ที่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีไป ติดต่อเพื่อขอรับเงินคืนภาษีได้ที่ธนาคารภายในวัน ที่ที่ระบุไว้ในหนังสือ
    นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการจัดเก็บภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า กรณีผู้ขอคืนภาษีที่เป็นชาวต่างชาติได้รับหนังสือแจ้งคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่สามารถไปติดต่อขอรับเงินคืนภาษีที่ธนาคารได้ เนื่องจากเดินทางออกจากประเทศไทยแล้ว ผู้ขอคืนสามารถให้ผู้แทนที่ชอบด้วยกฎหมายทำการแทนได้ โดยนำหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ กรมจัดส่งให้ทางไปรษณีย์พร้อมทั้งแนบเอกสารที่ พิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้แทนที่ชอบด้วยกฎหมาย ติดต่อเพื่อขอรับเงินคืนภาษีที่ได้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายในวันที่ที่ระบุไว้ในหนังสือ
    การดำเนินการดังกล่าวรองรับถึงกรณีอื่นๆ ที่ผู้ขอคืนภาษีไม่สามารถไปดำเนินการได้ด้วยตนเองและมีผู้ทำการแทนชอบด้วยกฎหมาย เช่น ผู้ขอคืนถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินคืนภาษี คนพิการ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ ผู้ขอคืนซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในต่างประเทศ กรณีดังกล่าวผู้ขอคืนสามารถให้ผู้แทนที่ชอบด้วยกฎหมายทำการแทนได้ เช่นเดียวกับกรณีชาวต่างชาติ
    กรณีคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล วิสาหกิจชุมชน กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งสามารถให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วน สามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือวิสาหกิจชุมชนหรือผู้ จัดการมรดก นำหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กรมจัดส่งให้ทางไปรษณีย์พร้อมทั้งแนบ เอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้แทนที่ชอบด้วยกฎหมาย ติดต่อเพื่อขอรับเงินคืนภาษีได้ที่ธนาคารภายในวัน ที่ที่ระบุไว้ในหนังสือเช่นกัน
    ทั้งนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการปรับปรุงระบบเพื่อสามารถให้บริการสำหรับผู้ขอคืนข้างต้นได้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562

    ประกาศสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง เรื่อง กำหนดบุคคลที่ผู้ขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดจะลงลายมือชื่อต่อหน้า ได้  พ.ศ. 2562

เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความคล่องตัวให้แก่ภาค ธุรกิจในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด จึงสมควรปรับปรุงการลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่อาจลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนได้

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 (1)(ค) แห่งกฎกระทรวงจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแต่งตั้งนายทะเบียน และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนห้าง หุ้นส่วนและบริษัทจำกัดพ.ศ. 2549 ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  นายทะเบียนกลางออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง เรื่อง กำหนดบุคคลที่ผู้ขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดจะลงลายมือชื่อต่อหน้าได้ พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ข้อ 2 ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลที่ผู้ขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดจะลงลายมือชื่อต่อหน้าได้
(1)  กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
(2)  กรรมการหอการค้าไทย
(3)  กรรมการหอการค้าจังหวัด
(4)  กรรมการหอการค้าต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศไทย
(5)  กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(6)  กรรมการสภาอุตสาหกรรมจังหวัด
(7)  กรรมการผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
(8)  กรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
(9)  ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี
       (10) ผู้ทำบัญชีที่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี
(11) หัวหน้าสำนักงานบัญชี หรือหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการของสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองคุณภาพ สำนักงานบัญชีจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักงานบัญชีคุณภาพ) ซึ่งเป็นสมาชิกของสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี ตามรายชื่อที่สำนักงานบัญชีคุณภาพได้แจ้งไว้ต่อนาย ทะเบียน
(12) ผู้รับใบอนุญาตทำการเป็นผู้บังคับหลักประกัน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ

ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562
                (นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์)
            อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
                 นายทะเบียนกลาง

กฎหมายภาษีอากรที่น่า สนใจ

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8532/2560

การปฏิบัติต่อ พยานหลักฐาน กรณีเป็นสัญญากู้ยืมเงินที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8942/2560

ใบกำกับภาษี สำหรับการเปลี่ยนสินค้าทดแทน

    ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 335)

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัยจากการเป็นลูกจ้างในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ อุตสาหกรรมเป้าหมาย

    กค.0702/1062    ลงวันที่    7 กุมภาพันธ์ 2561

การคำนวณเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม กรณีวันสุดท้ายตรงกับวันหยุดราชการ

    กค.0702/พ./1064    ลงวันที่    7 กุมภาพันธ์ 2561

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจดทะเบียนมูลค่าเพิ่มและความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

Comments are closed.