ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 260 สิงหาคม 2561

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 260 สิงหาคม 2561

ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix

ร่างกฎหมายใหม่กรม สรรพากรที่จะช่วยวิเคราะห์ตรวจสอบการหลบเลี่ยง ภาษี
(National e-Payment Master Plan)

กรมสรรพากรกำลังดำเนินการตรา “ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่…)
พ.ศ……. เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการ พื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรให้รองรับจัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ เกี่ยวข้องกับระบบภาษีอากร
และเพิ่มระบบทางเลือกในการหักนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตลอดจนเพิ่มช่องทางการชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยร่างพระราชบัญญัติมีสาระสำคัญดังนี้

  1. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้การยื่นรายการสามารถกระทำได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์
  2. กำหนดผู้มีหน้าที่หักและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งจ่ายเงินได้พึงประเมินไปยังธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินหรือบุคคล ที่กฎกระทรวงกำหนดโดยวิธีการโอนเงินหรือวิธี อื่นใดในทำนองเดียวกัน สามารถหักภาษีและนำส่งผ่านธนาคารหรือบุคคลอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงพร้อมการจ่ายเงิน ได้พึงประเมินนั้นได้และกำหนดให้อธิบดีมีอำนาจ ยกเว้นการยื่นรายการภาษีเงินได้บุคคธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายแก่บุคคลห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ที่หักและนำส่งภาษีนั้น ผ่านธนาคารหรือบุคคลอื่นข้างต้น
  3. กำหนดให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นข้างต้น มีหน้าที่รับเงินมาส่งให้กรมสรรพากร และกำหนดให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นนั้นรับผิดเท่าจำนวนเงินภาษีที่ได้รับไว้หรือส่งไม่ ครบถ้วนให้แก่กรมสรรพากร และเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ได้รับไว้หรือส่งไม่ครบถ้วน
  4. กำหนดให้การจัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ หรือใบรับสามารถจัดทำขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์
  5. กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากรสามารถกำหนดให้ใบ รับมีข้อความอื่นที่แตกต่างจากมาตรา 105 ทวิ เรียกให้ส่งมอบบัญชี เอกสาร หลักฐานหรือข้อมูลเกี่ยวกับการเสียภาษี ในกรณีที่ข้อมูลดังกล่าวถูกเก็บในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเป็นข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ให้อธิบดีมีอำนาจตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น

การเปิดรับฟังความคิด เห็นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล รัษฎากร เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามคำขอระหว่างประเทศและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติ ระหว่างประเทศ

  ในช่วง 25 กรกฎาคม ถึง 9 สิงหาคม 2561 กรมสรรพากรได้เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวล รัษฎากร ให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ เพื่อสะท้อนว่าประเทศไทยในฐานะสมาชิก Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes (Global Forum) พร้อมให้ความร่วมมือกับ OECD ในการป้องกันการหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยงภาษี และประเทศไทยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีตามมาตรฐานสากลเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ จึงสามารถบริหารจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใส
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มีการเพิ่มบทบัญญัติใหม่ในประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้

  1.  เพิ่มเติมมาตรา 3 ปัณรส ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้บุคคลทำหน้าที่รวบรวมและนำส่งข้อมูลทางภาษีและข้อมูลอื่น ๆ ตามที่ได้ร้องขอจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ หรือตามสัญญาที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การต่างประเทศ หรือตามสัญญาที่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจทำ ไว้กับหน่วยงานของต่างประเทศ
  2.  เพิ่มเติมมาตรา 3 โสฬส ให้อธิบดีมีอำนาจเปิดเผยและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้รับตามสัญญาที่รัฐบาลไทยทำไว้กับ รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ หรือตามสัญญาที่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจทำไว้กับหน่วยงานของต่างประเทศ
  3. เพิ่มเติมมาตรา 3 สัตตรส ห้ามมิให้ผู้ใดที่ล่วงรู้ข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ เปิดเผยแก่ผู้ใดหรือโดยวิธีใด เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามสัญญาระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่าง ประเทศ หรือตามสัญญาที่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจทำไว้กับหน่วยงานของต่างประเทศ หรือตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
  4.  เพิ่มเติมมาตรา 35 ตรี กำหนดบทลงโทษกรณีผู้มีหน้าที่รายงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าหน้าที่ในการรวบรวม และนำส่งข้อมูล ตามมาตรา 3 ปัณรส ให้เจ้าหน้าที่มีคำสั่งลงโทษทางปกครองไม่เกิน 100,000 บาท และปรับไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
  5.  เพิ่มเติมมาตรา 35 จัตวา กำหนดบทลงโทษกรณีผู้ใดที่รู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความเท็จในการรวบรวมและนำส่ง ข้อมูลตามมาตรา 3 ปัณรส ต้องระวางโทษจำคุก 3 เดือน ถึง 7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  6.  เพิ่มเติมมาตรา 35 เบญจ กำหนดบทลงโทษกรณีผู้ที่ล่วงรู้ข้อมูลที่ต้องรายงานหรือข้อมูลที่ได้รับมาจากต่าง ประเทศ แล้วนำข้อมูลนั้นไปเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนแก่บุคคลอื่น ตามมาตรา 3 สัตตรส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การแก้ไขเพิ่มเติมพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน เรื่องการได้รับค่าชดเชย 400 วัน

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2560 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่….) พ.ศ…..  ได้ส่งให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และได้เข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 1 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 สาระสำคัญ
ของร่างพระราชบัญญัตินี้ได้แก่

  1. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ15 ของค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าตอบแทน และเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการ เพื่อให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15
  2. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13 กำหนดให้การเปลี่ยนตัวนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและให้นายจ้างใหม่รับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่นั้น
  3. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 17/1 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนการบอกกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้าง โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
  4. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 34 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นในปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสามวันทำงาน และเพิ่มเติมมาตรา 57/1 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นหนึ่งไม่น้อย กว่าสามวันทำงาน
  5. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 41 และมาตรา 59 กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อตรวจครรภ์ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ โดยเมื่อรวมกับการลาเพื่อคลอดบุตรหนึ่งไม่เกิน เก้าสิบวัน และกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อตรวจครรภ์และ เพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอด ระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน
  6.  แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 53 ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างชายและหญิงอย่างเท่าเทียมกัน และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 70 เรื่องกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
  7.  แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 75 เรื่องการจ่ายเงินกรณีนายจ้างต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว
  8. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 118 (5) กำหนดอัตราค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีนายจ้างเลิกจ้างสำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างในอัตราที่ได้รับ 300 วันสุดท้าย และมาตรา 118 (6) กำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขี้นไปให้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างในอัตราที่ได้รับ 400 วันสุดท้าย
  9. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 93 (5) และมาตรา 120 เรื่องการแจ้งย้ายสถานประกอบกิจการ การจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ
  10. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 120/1 เกี่ยวกับการออกคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน
  11. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 120/2 และ มาตรา 125/1 กำหนดให้การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างเป็นอัน ระงับไปในกรณีที่นายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งของ พนักงานตรวจแรงงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
  12. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรา 144 มาตรา 145 มาตรา 146 มาตรา 151 และ มาตรา 155/1 โดยกำหนดยกเลิกขั้นตอนในการให้พนักงานตรวจแรงงานมีหนังสือแจ้งเตือนนายจ้างกรณีไม่ ยื่นหรือไม่แจ้งแบบแสดงสภาพการจ้างและการทำงาน

กฎหมายภาษีอากรที่น่า สนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2559

การปรับใช้ “ประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร” ของกรมสรรพากรสำหรับคดีภาษีมูลค่าเพิ่ม

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 660)พ.ศ. 2561

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 661) พ.ศ. 2561

พระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่  662)พ.ศ.2562

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

กำหนดเขตพื้นที่ท่องเที่ยวสำหรับการจัดอบรม สัมมนาและการเดินทางท่องเที่ยวและที่พักเพิ่ม เติมจากจังหวัดท่องเที่ยวรอง

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่7)

กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยก เว้นภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตป์สำหรับการบริจาคให้แก่สถารศึกษา ตามพระราขกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่า ด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ.2561

ระเบียบสำนักงานทะเบียน หุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2561

กค 0702/พ.3540    ลงวันที่    4 พฤษภาคม2561

ภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการที่กระทำในราช อาณาจักรแก่ผู้ประกอบการที่ตั้งอยู่ในเขตอากร

ข้อหารือกองบริหารประกอบ ธุรกิจของชาวต่างชาติประจำเดือนมีนาคม 2561 เรื่องที่ 1

กรณีคนต่างด้าวประกอบธุรกิจส่งออกเครื่องประดับ และต้องการพิมพ์ลวดลายลงบนเครื่องประดับเทียมตาม ความประสงค์ของลูกค้าโดยไม่มีการคิดค่าบริการ

ข้อหารือกองบริหารประกอบ ธุรกิจของชาวต่างชาติประจำเดือนมีนาคม 2561 เรื่องที่ 3

กรณีคนต่างด้าวซึ่งจดทะเบียนที่ต่างประเทศต้อง การจะประกอบธุรกิจเป็นสำนักงานภูมิภาคในประเทศ ไทย

 

Comments are closed.