ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 235 เดือนกรกฎาคม 2559

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 235 เดือนกรกฎาคม 2559

หัวข้อเรื่อง

เกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs เรียกย่อว่า มาตรฐานฯ SMEs

เนื้อแท้ของมาตรฐานฯ SMEs

  • บทนำ
    • ในที่สุดมาตรฐานฯ SMEs สำหรับธุรกิจขนาดกลางและย่อมจะต้องถูกนำมาเริ่มใช้ในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 แต่ ณ ปัจจุบันมาตรฐานฯ SMEs บางเรื่องจะได้รับการผ่อนผันในบทที่ซับซ้อนแต่สำหรับในรายละเอียดยังมีบางอย่างที่ยังไม่แน่นอน
    • มาตรฐานฯ SMEs ที่ประเทศญี่ปุ่นยังไม่นำมาใช้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารคนญี่ปุ่น พนักงานบัญชีคนไทยอาจจะรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการนำมาใช้ในการปฏิบัติงานจริง ทางบริษัทจึงตั้งใจจะเขียนอธิบายเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานฯ SMEs ในวารสารนี้
    • เคยทราบมาว่า ระบบการศึกษาของคณะบัญชีของนักศึกษามหาวิทยาลัยในประเทศไทย(ที่ญี่ปุ่นก็อาจเหมือนกัน)ส่วนใหญ่ข้อมูลจะมีเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินของประเทศอเมริกามากกว่าเนื่องจากอาจเป็นเพราะว่าอาจารย์ที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยจะเป็นอาจารย์ที่ไปเรียนต่อที่ประเทศอเมริกาโดยส่วนใหญ่ ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศอาจได้มายากกว่า แม้กระทั่งมาตรฐานฯ SMEs ที่จะนำมาใช้ในเร็ววันนี้ก็เพิ่งจะแปลเป็นภาษาไทยและลงในเวปไซต์ของสภาวิชาชีพเมื่อไม่กี่วันก่อนนี้เอง
  • ที่มาของมาตรฐานฯ SMEs
    • ผู้เขียนคิดว่า มาตรฐานฯ SMEs เป็นเรื่องเชิงการเมือง เจตนารมณ์ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (Preface to International Financial Reporting Standards) เพื่อพัฒนามาตรฐานการรายงานทางการเงินให้มีคุณภาพสูง(to develop, (omitted), a single set of high quality, (omitted) financial reporting standards) โดยคณะกรรมการ IASB ผู้กำหนดมาตรฐานฯ IFRSs มีความตั้งใจให้มีมาตรฐานฉบับเดียวหรือชุดเดียว แต่กลับกลายเป็นว่าสุดท้ายก็มีทั้งมาตรฐานฯ SMEs และมาตรฐานฯ IFRSs ทำให้ IASB ถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน
    • คำว่า “มาตรฐานชุดเดียว” มีความน่าสนใจเนื่องจากเมื่อ 15 ปีก่อน คุณยามาดะซึ่งเป็นกรรมการท่านหนึ่งในคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี IASB ในสมัยนั้นเคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า คณะกรรมการมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจจะสร้างมาตรฐานการบัญชีให้มีแค่มาตรฐานฉบับเดียวให้ใช้กันทุกประเทศเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นบัญชีสำหรับสาธารณชน บัญชีสำหรับโรงพยาบาล บัญชีสำหรับโรงเรียน ทั้งหมดให้ใช้ฉบับเดียวกัน แต่กลายเป็นว่าในปี 2009 คณะกรรมการ IASB กลับอนุมัติให้ออกมาตรฐานฯ SMEs กลายเป็นมาตรฐานมี 2 ชุดคือมาตรฐานฯ SMEs และ มาตรฐานฯ IFRSs
  • ความแตกต่างของมาตรฐานฯ SMEs และ มาตรฐานฯ NPAEs
    • มาตรฐานฯSMEs โดยหลักไม่จำเป็นต้องอ้างอิงกับมาตรฐานฯ IFRSs เสมอไปเนื่องจากเป็นฉบับแยกต่างหาก(Stand-alone) จากมาตรฐาน IFRS แต่ก็ไม่ใช่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่อาจกล่าวได้ว่ามาตรฐานฯ SMEs เป็นมาตรฐานฉบับอย่างง่ายหรือกะทัดรัดของ IFRS ซะมากกว่า
    • ในมาตรฐานฯ SMEs บทที่ 2 เรื่อง “แนวคิดและหลักการ” จะสังเกตได้ว่าเนื้อหานำมาจากแม่บทการบัญชีของมาตรฐานฯ IFRSs มาตรฐานฯ SMEs ใช้หลักบัญชีมูลค่ายุติธรรมเหมือนกับมาตรฐานฯ IFRSs และใช้ทฤษฎี decision-usefulness approach (คือมาตรฐานการบัญชีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน)หรืออาจเรียกว่าใช้หลัก Balance Sheet approach (ปัจจุบันใช้คำว่า “รายงานแสดงฐานะทางการเงิน”) คือให้ความสำคัญกับงบแสดงฐานะทางการเงินมากกว่างบกำไรขาดทุน
    • หรือในทางกลับกันอาจกล่าวได้ว่า มาตรฐานฯ SMEs เป็นมาตรฐานการบัญชีที่มีลักษณะดังต่อไปนี้คือ “ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินเป็นข้อมูลมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์หรือหนี้สินมากกว่าข้อมูลเกี่ยวกับกำไรขาดทุน ดังนั้น ทางด้านบัญชีการกำหนดมูลค่ายุติธรรมเรื่องการตีราคาเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด กำไรขาดทุนจากการตีราคาที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจะเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของผู้ใช้งบ
    • ส่วนมาตรฐานฯ NPAEs ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันโดยส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นมาจากหลักราคาทุน (NPAE para1) มากกว่าหลักราคายุติธรรม แล้วผสมผสานระหว่างหลักทฤษฎี decision-usefulness approach และทฤษฏี classical-true income approach (คือมาตรฐานการบัญชีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณกำไรที่แท้จริงของกิจการเพื่อทำหน้าที่ในการปรับปรุงส่วนได้เสียของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการซึ่งก็คือผู้ใช้งบการเงินทางตรงโดยให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นมากกว่าบุคคลภายนอก) (NPAE para4.1, 17) ดังนั้นงบกำไรขาดทุนจึงมีความสำคัญมากกว่างบดุล(งบแสดงฐานะทางการเงิน)จึงทำให้ในบางกรณีอาจถูกมองว่าเป็น P/L approach
    • สิ่งนี้คือความแตกต่างอย่างมากระหว่างมาตรฐานฯ NPAEs และมาตรฐานฯ SMEs ยกตัวอย่างเช่น บัญชีด้อยค่าของสินทรัพย์ที่เป็นแบบฉบับของบัญชีมูลค่ายุติธรรม จะเหมือนกับมาตรฐานฯ IFRSs และ มาตรฐานฯ SMEs แต่มาตรฐานฯ NPAEsไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการด้อยค่า
    • แต่ปัจจุบัน มาตรฐาน IFRS ก็อาจยังไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำได้ว่าเป็นหลักมูลค่ายุติธรรมแต่เป็นที่เข้าใจว่า มาตรฐาน IFRSวางเป้าหมายของตัวเองไว้ที่มูลค่ายุติธรรม แต่มาตรฐาน SMEs ยังมีบางส่วนที่ใช้หลักราคาทุนอยู่ เช่น การรับรู้รายการเมื่อได้มาของสินค้าคงเหลือและที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ยังคงใช้หลักราคาทุนอยู่ ส่วนมาตรฐานฯ NPAEs ก็เช่นเดียวกัน รูปลักษณ์ภายนอกอาจดูเหมือนปฏิบัติตามมาตรฐาน IFRS อยู่แต่จริงๆแล้วเป็นเพียงรูปแบบภายนอกเท่านั้น ทั้งมาตรฐานฯ NPAEs และมาตรฐานฯ SMEs ไม่ค่อยแตกต่างกันนักเกี่ยวกับวิธีการลงบัญชี แต่ทั้งมาตรฐานฯ NPAEs และมาตรฐานฯ SMEs มีเนื้อแท้และจุดเริ่มที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะปฏิบัติเหมือนกันแต่ความหมายในเนื้อแท้แตกต่างกันค่อนข้างมาก จึงอาจต้องระวังประเด็นดังกล่าวโดยเขียนเป็นรูปได้ดังนี้
    • Img_2016-07_TH

การขยายระยะเวลาการยื่นและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 15345/2558 วินิจฉัยให้การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลรัษฎากร เท่ากับนิติบุคคลต้องชำระภาษีให้ถูกต้อง โดยมีการขยายระยะเวลาการยื่นรายการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและขยายกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอคืนเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม เป็นวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2559)
  • แต่ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 45/2559 เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรเพื่อความเป็นธรรมแก่นักลงทุนนั้น ได้ขยายระยะเวลาจากเดิมไปถึงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ดัชนีความเคลื่อนไหวของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

กฎหมายภาษีอากรที่น่าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6826/2557

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6826/2557

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 607)พ.ศ. 2559

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 608)พ.ศ. 2559

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ป. 2 /2559

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ป. 2 /2559

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ป. 3/2559

หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax)

หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax)

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขอลดทุนจดทะเบียนบริษัท

Comments are closed.