ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 256 เดือนเมษายน 2561

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 256 เดือนเมษายน 2561

ดัชนีความเคลื่อนไหวของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix

ข่าวล่าสุดเกี่ยวกับ มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอน Transfer Pricing

  • เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2561 บริษัทฯ อริยะ กรุ๊ป ได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์สาโรช ทองประคำ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากรมาจัดสัมมนาให้แก่พนักงานชาวไทย ซึ่งสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สัมมนาดังกล่าว ได้จัดขึ้นในวันเสาร์ตลอดทั้งวัน เนื้อหาของการสัมมนาเริ่มตั้งแต่ความรู้พื้นฐานของเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล ประเด็นสำคัญในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับปีภาษี 2017(2560) ตลอดจนถึงมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอน (Transfer pricing) ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตลอดงานสัมมนาท่านสาโรชได้ถ่ายทอดความรู้ที่เต็มเปี่ยมและประสบการณ์ที่หลากหลายของท่านโดยเป็นที่ยอมรับจากผู้เข้าร่วมสัมมนาอย่างดี และการถาม-ตอบระหว่างผู้เข้าร่วมอบรมกับอาจารย์สาโรชนั้น เป็นไปด้วยความกระตือรือร้นจนแทบจะปิดการสัมมนาภายในเวลาไม่ได้
  • เรื่องที่หลายคนอาจเข้าใจกันผิดเกี่ยวกับวิธีการใช้สิทธิผลขาดทุน เช่น เมื่อบริษัทมีผลขาดทุนเป็นครั้งแรกใน ปี 2558 เป็นจำนวน 100 จากนั้นในปี 2559 บริษัทมีผลกำไรสุทธิ (เงินได้พึงประเมิน) เป็นจำนวน 40 แต่ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยที่ไม่นำผลขาดทุนในปีก่อน (มองจากปี 2559) มาหักเป็นรายจ่าย แต่ปีถัดไปคือปี 2560 บริษัทมีผลกำไรเป็นจำนวน 80 บริษัทจะไม่สามารถนำผลขาดทุนจำนวน 100 มาเป็นค่าใช้จ่ายในปี 2560 ได้ เรื่องเหล่านี้ ผู้เข้าร่วมอบรมที่เป็นพนักงานคนไทยหลายคนเพิ่งทราบเป็นครั้งแรก
  • แต่อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการกำหนดราคาโอนนั้น เนื่องด้วยตำแหน่งของอาจารย์สาโรช ทำให้ยังไม่สามารถที่จะให้ความเห็นได้เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนว่าจะมีการแก้ไขในร่างกฎหมายมากน้อยเพียงใด จึงไม่ได้อธิบายอย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือ ณ ปัจจุบัน แทบจะยังไม่ได้กำหนดอะไรแต่ก็มีคำถามเกี่ยวกับการกำหนดราคาโอนอยู่บ้าง ซึ่งคิดว่าข้อมูลสำคัญที่ได้ในครั้งนี้คือ ยังไม่ต้องเร่งรีบดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น

การเคลื่อนไหวล่าสุดของ มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอน (ณ เดือนมีนาคม 2561)

  • ตามที่หลายท่านทราบว่าร่างพระราชบัญญัติ มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอน ได้ผ่านการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้วขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (NLA:The National Legislative Assembly of Thailand)
  • ทางบริษัทฯ อริยะได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมสรรพากร (ผู้รับผิดชอบเรื่องนี้) ตามที่เจ้าหน้าที่กล่าวนั้น มีความเป็นไปได้ที่ร่างจะมีการเปลี่ยนแปลงอีก และในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีตัวแทนจากบริษัทเอกชนด้วย ทำให้มีแรงกดดันในหลายๆ ด้าน จึงไม่สามารถบอกถึงความแน่นอนได้ หากจะบอกกล่าวถึงความน่าจะเป็นไปได้ก็คงจะเป็นดังนี้
  • ช่วงเวลาที่เริ่มบังคับใช้มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) เมื่อตอนแรก ร่างนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 แต่คาดว่าจะเลื่อนออกไปอีก 2 ปี กล่าวคือ น่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป อย่างเร็วที่สุดบริษัทที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จะต้องเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดราคาโอนจริงๆ (การจัดทำเอกสารแนบท้ายแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล) กล่าวคือ มีความเป็นไปได้ว่าบริษัทที่มีรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 อาจได้เตรียมเอกสารดัวกล่าวพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในปลายเดือนพฤษภาคม 2563 สรุปคือ น่าจะล่าช้าออกไปอีก 2 ปี เหตุผลที่ทำให้ล่าช้านั้น เนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กำลังยุ่งอยู่กับการตรวจพิจารณาบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งในขณะนี้ คาดว่าร่างมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนจะผ่านการพิจารณา อย่างเร็วที่สุดก็คงจะกลางปีนี้ (ปี 2561) เป็นต้นไป
  • บริษัทที่อยู่ในข่ายบังคับใช้ (1) จากข้อมูลต่างๆที่ถูกนำเสนอออกมาในอินเตอร์เน็ต เช่น “บังคับใช้กับบริษัทที่มียอดขายในปีดังกล่าวมากกว่า 30 ล้านบาท” เป็นการนำเสนอที่มักทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ง่าย เมื่อมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนมีผลบังคับใช้แล้ว บริษัทดังกล่าวจะถูกกำหนดให้มีหน้าที่ต่างๆ ตามกฎหมาย ขนาดของบริษัทที่เข้าข่ายการบังคับใช้นั้น รวมถึงรายรับหรือรายได้ทั้งหมด (คาดว่า ตามบริบทแล้วน่าจะรวมถึงกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีผลบังคับใช้ จำนวนเงินจะเกินจากที่กำหนดหรือไม่ กล่าวคือ จำนวนเงินดังกล่าวกระทรวงการคลังจะกำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ จะถูกกำหนดในขอบเขตที่ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท (thresholds) หรือไม่เนื่องจากตามร่างในปัจจุบัน อัตราขั้นต่ำจะต้องกำหนดในจำนวนที่ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท
  • บริษัทที่อยู่ในข่ายบังคับใช้ (2) ตัวอย่างเช่น หากกำหนดในกฎกระทรวงให้บังคับใช้แก่บริษัทที่มีรายได้ 50ล้านบาทขึ้นไปแล้ว บริษัทที่มีรายได้เป็นจำนวน 40 ล้านบาท จะไม่อยู่ในบังคับใช้มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอน แต่อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงจะกำหนดให้บังคับใช้แก่บริษัทที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาทไม่ได้ หมายความว่า “(อัตราขั้นต่ำจะกำหนดในกฎกระทรวงโดยขึ้นอยู่กับ)ยอดขาย(รวมถึงรายได้อื่น)ในรอบระยะเวลาบัญชี แต่อัตราขั้นต่ำดังกล่าว (จะต้องไม่ต่ำกว่า) 30 ล้านบาท” ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นก็คือ “(ตามร่างในปัจจุบัน หากมีการขยายขอบเขตที่จะบังคับกับบริษัทให้ได้มากที่สุด)จะใช้บังคับกับบริษัทที่มีรายได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป ”ยิ่งกำหนดจำนวนเงินต่ำมากเท่าใด จำนวนบริษัทที่จะอยู่ในข่ายบังคับใช้จะเพิ่มขึ้น
  • บริษัทที่อยู่ในข่ายบังคับใช้ (3) ประเด็นใหญ่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณานั้นดูเหมือนว่าจะอยู่ที่ประเด็นนี้ คืออยู่ที่ขอบเขตในการบังคับใช้ ตามร่างปัจจุบันแล้ว ให้อำนาจกระทรวงการคลังในการบังคับใช้แก่บริษัทมีรายได้ตั้งแต่30 ล้านบาทขึ้นไป แต่อัตราขั้นต่ำนั้นต่ำเกินไป ผู้เขียนคิดว่ากฎหมายน่าจะจำกัดอำนาจของกระทรวงการคลัง เช่น อัตราขั้นต่ำที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น ควรจะอยู่ที่อย่างน้อย 100 ล้านบาทขึ้นไป ไม่เช่นนั้นแล้วตามลักษณะการกำหนดในร่างปัจจุบัน บริษัทที่มีรายได้เพียงแค่ 30 ล้านบาทขึ้นไปก็จะเป็นเป้าหมายในการบังคับใช้ร่างนี้ด้วยเพียงการกำหนดจากกฎกระทรวงเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีเสียงจากวงการธุรกิจว่า จะทำให้กิจการขนาดกลางรับภาระมากเกินไป กล่าวคือ คำว่า “บังคับใช้แก่บริษัทที่มียอดขายตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป” นั้น จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อร่างปัจจุบันผ่านการพิจารณาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ และกระทรวงการคลังตัดสินใจว่า จะขยายขอบเขตการบังคับใช้มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนกับบริษัทให้มากที่สุด แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าความเป็นไปได้มีน้อยมาก
  • ในตอนนี้ ควรจะรับมือกับมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) อย่างไร ตามที่เรียนมาข้างต้น คาดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะรีบเร่งในการรับมือกับมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนเป็นพิเศษ แต่ก็ต้องหลีกเลี่ยงการกำหนดราคาซื้อ-ขายระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คิดว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะจัดงบประมาณหลักล้านบาท เพื่อจัดทำเอกสารหลักฐานตามคารมของผู้ให้คำปรึกษา(Consultant)ที่

กฎหมายภาษีอากรที่น่าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6897/2551

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และค่าภาษีในการโอนอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นรายรับของโจทก์สำหรับการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 654) พ.ศ. 2561

กฎกระทรวงฉบับที่ 336 (พ.ศ.2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 317)

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 9)

กค 0706/พ./9630 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศไทย

กค 0702/พ.2753 ลงวันที่ 5 เมษายน 2561

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการแก่บริษัทในต่างประเทศ

Comments are closed.