ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 269 พฤษภาคม 2562

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 269 พฤษภาคม 2562

ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix


    ร่างกฎกระทรวงกำหนดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขอ อนุญาตในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้

  1.  อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนด ธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขออนุญาตในการประกอบ ธุรกิจของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นธุรกิจบริการอื่น จำนวน 3 ธุรกิจ เป็นธุรกิจที่ไม่ต้องขออนุญาตในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในบัญชีสาม (21) ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ได้แก่ (1) ธุรกิจบริการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทในเครือในกลุ่มในประเทศ (2) ธุรกิจบริการให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน พร้อมสาธารณูปโภคให้แก่บริษัทในเครือในกลุ่ม และ (3) ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาแนะนำให้แก่บริษัทในเครือในกลุ่มเฉพาะด้านบริหารจัดการ ด้านการตลาด ด้านทรัพยากรบุคคล และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

      2. ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรมีการติดตามระดับความสามารถในการแข่ง            ขันของผู้ประกอบการไทยอย่างต่อเนื่อง และดูแลมิให้ผู้ประกอบการต่างชาติมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่าผู้ประกอบการไทย ควรกำหนดเวลาซึ่งกฎหมายจะมีผลใช้บังคับที่ชัดเจน            และควรมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการไทยที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ และนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อให้เกิดความรอบคอบและ ชัดเจน อีกทั้งควรมีการสื่อสาร                ส่งเสริม และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้มีความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัล เพื่อการเตรียมความพร้อมและรองรับการแข่งขันที่สูง ขึ้นควบคู่ไปด้วย รวมทั้งควรต้องติดตามระดับ               การแข่งขันของธุรกิจบริการให้กู้ยืมเงินในประเทศแก่บริษัทในเครือในกลุ่มตามความ เหมาะสม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน ของธุรกิจการเงินอื่น ไป              ประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

พระราชบัญญัติ โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติ โรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติ โรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ลงราชกิจจานุเบกษา ซึ่งพระราชบัญญัติ โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศ (28 ตุลาคม พ.ศ. 2562) และพระราชบัญญัติ โรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
    เหตุผลและความจำเป็นในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะหลักเกณฑ์การควบคุมการประกอบกิจการโรงงาน ที่มีความเข้มงวดและล่าช้า อันสร้างปัญหาและ อุปสรรคต่อการประกอบกิจการโรงงาน สมควรเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การควบคุมการประกอบกิจการโรงงานใหม่ เพื่อให้การควบคุมการประกอบกิจการโรงงานเป็นไป เพียงเท่าที่จำเป็น เกิดความรวดเร็ว ประหยัด และ ลดภาระแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานโดยเฉพาะผู้ประกอบกิจการโรงงานขนาดเล็ก โดยการปรับปรุงขั้นตอนและ ระยะเวลาการพิจารณาของผู้อนุญาตและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายให้มีความชัดเจน ลดการใช้ดุลพินิจ ยกเลิกการกำหนดให้มีการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษ รวมทั้ง ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียม เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน

1.    พระราชบัญญัติ โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
        •    มีการแก้ไขนิยาม “โรงงาน” โดยกำหนดให้หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวม ตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าสิบแรงม้า                ขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามเพื่อประกอบกิจการโรงงาน
        •    เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบเอกชนที่ขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ตรวจโรงงานกับ กระทรวงอุตสาหกรรมที่จะสามารถตรวจรับรองความถูก ต้องของการประกอบกิจการ และจัด                ทำรายงานผลการตรวจสอบเพื่อเสนอแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ อันจะเป็นการเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการรับรองโรง งาน
        •    ยกเลิกการกำหนดอายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และการต่ออายุใบอนุญาต
        •    การขยายโรงงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดมลพิษ ป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร หรือการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่ใช้เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่ง             ขึ้น ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตในการขยายโรงงาน
        •    กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว แต่ไม่สามารถเริ่มประกอบกิจการโรงงานได้ภายหลังจากที่ได้รับใบอนุญาต ผู้รับใบอนุญาตสามารถโอนใบอนุญาต โดยให้ผู้ที่              ประสงค์จะรับโอนยื่นคำขอรับโอนต่อผู้อนุญาตภายใน 30 วันที่มีการโอนใบอนุญาต โดยในระหว่างที่รอการพิจารณาอนุญาตจากผู้อนุญาต ให้ถือเสมือนว่าผู้ยื่นคำขอนั้นเป็นผู้รับ              ใบอนุญาตตั้งแต่วันที่มีการโอนใบอนุญาต
        •    เมื่อโรงงานจำพวกที่ 2 และ 3 หยุดการประกอบกิจการเกินกว่า 1 ปี ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันพ้นกำหนดหนึ่งปี โดยหากโรงงาน                จำพวกที่ 2 จะกลับมาดำเนินการต่อ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ก่อนเริ่มประกอบกิจการ และโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะประกอบกิจการ                โรงงานต่อไปได้
•    แก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติ ดังนี้

รายการ อัตรา ค่าธรรมเนียม
1.    คำขอ ฉบับละ 100 บาท
2.    ใบอนุญาต ฉบับละ 300,000 บาท
3.    การอนุญาตขยายโรงงาน ฉบับละ 300,000 บาท
4.    การโอนใบอนุญาต ฉบับละ 5,000 บาท
5.    ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 5,000 บาท
6.    การแจ้งกรณีได้รับยกเว้นการขยายโรงงานหรือ กรณีลดหรือเพิ่มเครื่องจักรแต่ไม่เข้าข่าย ขยายโรงงาน หรือการเพิ่มเนื้อที่อาคารโรงงานหรือการก่อสร้างอาคารโรงงานเพิ่มขึ้น ครั้ง ละ 15,000 บาท
7.    ใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง ฉบับละ 5,000 บาท
8.    การต่ออายุใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง ฉบับละ 5,000 บาท
9.    ใบแทนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง ฉบับละ 500 บาท
10.    ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการโรงงาน ปีละ 100,000 บาท


2.    พระราชบัญญัติ โรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
    •    ให้มีการถ่ายโอนพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับโรงงานจำพวกที่ 1 และจำพวกที่ 2 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562 พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2562 เนื้อหาของพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ให้ครอบคลุมกิจการที่จำเป็นหรือเป็นประโยชน์แก่การดำเนินงานของการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย โดยกำหนดให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้มาจากการตราพระราช กฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ ชัดเจน รวมทั้งกำหนดให้การพิจารณาอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ หรือรับจดทะเบียนหรือรับแจ้งตามกฎหมายบางฉบับที่จำเป็นให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่า การการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมและกำหนดให้การนำ ของหรือวัตถุดิบเข้าไปในเขตประกอบการเสรี เพื่อพาณิชยกรรมได้รับความสะดวกมากขึ้น

พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 มีสาระสําคัญดังนี้

•    เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้ครอบคลุมถึงกิจการดังต่อ ไปนี้

        –    ดำเนินกิจการท่าเรืออุตสาหกรรม รวมทั้งจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในการดำเนินงานและการดำรงชีวิตที่มี คุณภาพเพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้                     ประกอบพาณิชยกรรม และผู้ประกอบกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์ รวมถึงการจัดสาธารณูปโภค ที่พักอาศัย การขนส่งทางบกและทางน้ำ ท่าเรือ การสื่อสารโทรคมนาคม หรือ                     กิจการอื่นใดที่จำเป็นได้เฉพาะในเขตอุตสาหกรรม
        –    จัดให้มีการจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหรือ เกี่ยวเนื่องกับกิจการอันอยู่ในวัตถุประสงค์ของการ นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
        –    เข้าร่วมดำเนินงานกับบุคคลอื่นๆรวมถึงเข้าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้าง หุ้นส่วนจำกัด หรือถือหุ้นในนิติบุคคลใดๆ ที่มีวัตถุประสงค์หรือการดำเนินการที่เป็น                     ประโยชน์หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการอันอยู่ในวัตถุประสงค์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
•    ให้อำนาจแก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณ สมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันที่การ นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้      รับมาจากการตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้แก่ผู้ร่วมดำเนินงานในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ประกอบพาณิชยกรรม       หรือผู้ประกอบกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือ การประกอบพาณิชยกรรม
•    ให้อำนาจผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ มีอำนาจอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต หรือให้ความเห็นชอบ หรือรับจดทะเบียนหรือรับ         แจ้งตามกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการหรือการกระทำใดของผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประ กอบพาณชยกรรมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายดังต่อไปนี้
        –    กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
        –    กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
        –    กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
        –    กฎหมายว่าด้วยโรงงาน
ทั้งนี้ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีอำนาจ ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆด้วย อีกทั้งให้ค่าบริการนั้นเป็นรายได้ของการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
พระราช บัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ลงราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายใน 180 วันนับแต่วันประกาศ (28 ตุลาคม 2562) และให้กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงกำหนด เรื่องการจดทะเบียนทรัพย์อิงสิทธิ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและจดทะเบียนทรัพย์อิงสิทธิ ภายใน 90 วันหลังจากพระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับ (26 มกราคม 2563)
เหตุผลและความจำเป็นในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีข้อจำกัดบางประการ (เช่น สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวผู้เช่า, สิทธิการเช่าไม่สามารถเป็นหลักประกันเพื่อการจำนองได้) และการเช่าตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถใช้สิทธิการเช่าได้หลายกรณี (เช่น ผู้เช่าเอาสิทธิการเช่าไปจำนอง เช่าช่วง ได้เฉพาะเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมเท่านั้น) จึงเห็นสมควรให้มีการกำหนดสินทรัพย์ชนิดใหม่ เรียกว่า “ทรัพย์อิงสิทธิ” ขึ้น เพื่อให้สิทธิการเช่าเปรียบเสมือนเป็นทรัพย์สิน ที่สามารถโอน นำไปเป็นหลักประกันการชำระหนี้จำนอง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในอสังหาริม ทรัพย์ และผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

พระราช บัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

•    ทรัพย์อิงสิทธิ รวมถึง สิทธิในการเช่าที่ดินที่มีโฉนด สิทธิในการเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่มีโฉนด สิทธิในการเช่าห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทรัพย์อิงสิทธินี้พระ       ราชบัญญัติถือว่าเป็นทรัพย์สินที่อิงจากสิทธิการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ข้าง ต้น
•    เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ (เจ้าของที่ดิน เจ้าของห้องชุด) ต้องจดทะเบียนการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายที่ดินและ อาคารชุด และพนักงานเจ้าหน้าที่จะออก      หนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิให้ 
•    ทรัพย์อิงสิทธิมีระยะเวลาไม่เกิน 30 ปี
•    เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องจดทะเบียนการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ทั้ง หมด ไม่สามารถแบ่งแยกที่ดินที่จดทะเบียนทรัพย์อิงสิทธิ หรือรวมกับที่ดินแปลงอื่นได้
•    ผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิ (เช่น ผู้ให้เช่า ผู้เช่า) สามารถโอนสิทธิการเช่า ให้เช่าช่วง และสามารนำสิทธิการเช่าไปเป็นหลักประกันชำระหนี้จำนองได้ โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้า         ของอสังหาริมทรัพย์
•    เมื่อผู้เช่าเสียชีวิต ทรัพย์อิงสิทธิสามารถตกทอดแก่ทายาท และทายาทถือเป็นผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิคนใหม่
•    ผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดเสมือนเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ เช่น โอน ดัดแปลง ต่อเติมอสังหาริมทรัพย์ แต่ผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิไม่มีสิทธิติดตามและเอาคืน, สิทธิ      ขัดขวาง จากบุคคลอื่นที่ยึดถือ, ใช้ อสังหาริมทรัพย์โดยไม่ชอบกฎหมาย
•    การทำธุรกรรมในทรัพย์อิงสิทธิทุกกรณี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และแจ้งให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้ทราบ

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่

เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2562 มีการประกาศพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) ลงราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันประกาศลงราชกิจจานุเบกษา รายละเอียดของพระราชบัญญัตินี้ให้ดูได้ใน Tax News ฉบับที่ 265 เดือน มกราคม พ.ศ. 2562 (หัวเรื่องสำหรับข่าวสารภาษีอากร) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่….)พ.ศ………….  

กฎหมายภาษีอากรที่น่า สนใจ

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6447/2560

    พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 50) พ.ศ.2562 

    พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 51) พ.ศ.2562

    พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) พ.ศ.2562

    พระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวล            รัษฎากร พ.ศ. 2562

       ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลงทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

    กค.0702/9637    ลงวันที่    19 ธันวาคม 2561

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเจ้าหน้าที่ฝึกงานชาวฝรั่งเศส

 

Comments are closed.