ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 275 พฤศจิกายน 2562

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 275 พฤศจิกายน 2562

ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix

  ข้อมูลล่าสุด Transfer Pricing : กรมสรรพากรได้ประกาศแบบรายงานประจำปีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี ความสัมพันธ์กัน ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form)

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 กรมสรรพากรได้ประกาศแบบรายงานประจำปีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี ความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ซึ่งแบบรายงาน Disclosure Form นี้ เป็นแบบกรอกข้อมูลธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ กัน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันมีหน้าที่ยื่นแบบรายงาน Disclosure Formพร้อมกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ทุกปี

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ กันมีหน้าที่ยื่นเอกสารเกี่ยวกับ Transfer Pricing จะต้องยื่นแบบรายงานประจำปีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสันพันธ์ กัน ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หรือ Disclosure Form ทุกปี โดยไม่ต้องรอได้รับคำสั่งจากกรมสรรพากรก่อน ซึ่งข้อนี้แตกต่างจากการยื่นเอกสารเกี่ยวกับ Transfer Pricing อื่น ๆ  เช่น Local File ซึ่งกรมสรรพากรจะออกคำสั่งให้บางบริษัทต้องยื่น

กฎหมายควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Used Items) และกฎหมายศุลกากร

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จะบังคับใช้ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้สินค้าที่ใช้ได้สองทางเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตและกำหนดสินค้าที่ต้อง ปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการส่งออกไปนอกราช อาณาจักร ในวันที่ 1 มกราคม 2563 เพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมพร้อมในการปฏิบัติตามมาตรฐานการขออนุญาตส่งออกสินค้าที่ ใช้ได้สองทาง และให้การดำเนินการรับรองสินค้าที่มี HS Code เข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง
    สินค้าที่ใช้ได้สองทาง คือ สินค้าและเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งทางพาณิชย์และทางทหาร รวมถึงนำไปใช้ออกแบบ พัฒนา ผลิต ใช้ ดัดแปลง จัดเก็บ ลำเลียง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ได้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง กรมการค้าต่างประเทศ กำหนดให้สินค้าต่อไปนี้ต้องขออนุญาตการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

  1.  สินค้าที่ใช้ได้สองทางตามที่กำหนดใน บัญชี 1 ท้ายประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้สินค้าที่ใช้ได้สองทางเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออก
  2.  สินค้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเกี่ยว ข้องกับการทหาร
  3.  สินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรที่กำหนดใน บัญชี 2 ท้ายประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้สินค้าที่ใช้ได้สองทางเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออก

    สินค้าที่ใช้ได้สองทาง ยังอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 51 และมาตรา 208 กล่าวคือ ก่อนที่ผู้ประกอบการส่งออกจะส่งของใดออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้ประกอบการส่งออกต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับ ศุลกากร (รวมถึง กฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ เรื่องสินค้าที่ใช้ได้สองทาง) นั่นคือ ผู้ประกอบการส่งออกต้องขออนุญาตการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทางจากกรมการค้าต่าง ประเทศ ถ้าผู้ประกอบการส่งออกไม่ปฏิบัติตาม ผู้ประกอบการส่งออกต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

กฎหมายภาษีอากรที่น่า สนใจ

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2561

         กรณีออกใบกำกับภาษีก่อนจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่า เพิ่มตั้งแต่เมื่อใด

    พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 685) พ.ศ. 2562 

    พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 686) พ.ศ. 2562    

    พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 687) พ.ศ. 2562

    กฎกระทรวง ฉบับที่ 352 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร   

    ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15)

        กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษา ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์           

    ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

        กำหนดแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะ เวลาบัญชี

   ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 4/2562

      มาตรการเร่งรัดการลงทุน

   0702/5474  ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2562

      ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแทนผู้จ่ายเงินได้

   0702/5723 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562

      ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา ๗๐ แห่งประมวลรัษฎากร

 

      

 

Comments are closed.