ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 266 กุมภาพันธ์ 2562

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 266 กุมภาพันธ์ 2562

ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix

ขยายกำหนดเวลายื่นแบบ แสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต

เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี และนำส่งภาษียื่นแบบแสดงรายการตามแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบ อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรออกประกาศกระทรวงการคลังเพื่อขยายกำหนดระยะเวลาการยื่นแบบแสดง รายการและชำระภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายกำหนด สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดให้ยื่นรายการในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้

ประเภท แบบแสดง รายการภาษี ระยะเดิม ที่กฎหมายกำหนด ระยะเวลา ที่ขยายให้
ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90, 91 ภายในเดือนมีนาคม 2563 ภายใน 8 เมษายน 2563
ภ.ง.ด. 94 ภายในเดือนกันยายนของทุกปี ภายใน 8 ตุลาของทุกปี
ภาษีเงินได้
นิติบุคคล
ภ.ง.ด. 50, 52, 54 และ บัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่าย ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ภายใน 158 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ภ.ง.ด. 51 ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ภายใน 2 เดือน 8 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
ภ.ง.ด. 54 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจาก ประเทศไทย ภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจาก ประเทศไทย
ภาษีหัก
ณ ที่จ่าย
ภ.ง.ด. 1, 2, 3 และ 53 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
ภาษีมูลค่า เพิ่ม ภ.พ. 30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป
ภ.พ. 36 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป

การขยายระยะเวลาการยื่น งบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD E-Filing)

    เนื่องจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน ประจำปี และประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการยื่นงบการเงิน ประจำปี  ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เพื่อให้การยื่นงบการเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-filing) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงขอประกาศขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์(DBD e-Filing)   ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 และมีกำหนดยื่นงบการเงินในวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 ให้ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงิน “เฉพาะที่นำส่งผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์” (DBD e-filing) ออกไปอีก 7 วัน เป็นภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2562

สำนักงานคณะกรรมการส่ง เสริมการลงทุนออกประกาศใหม่กำหนดเรื่อง คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขสำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa)

    เนื่องจากที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป. 4/2561 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่อง คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขสำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) และได้ออกประกาศฉบับใหม่ ที่ป. 12/2561 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2561 ซึ่งได้กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์และ เงื่อนไขสำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart  Visa)  มีรายละเอียดดังนี้
ข้อ 1     คนต่างด้าวตามประกาศนี้ ได้แก่

        1.1 ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง  นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ซึ่งประสงค์ทำงาน ลงทุนหรือจัดตั้งกิจการในอุตสาหรกรรมเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
            (1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
            (2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
            (3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
            (4) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
            (5) อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต
            (6) อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์
            (7) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
            (8) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
            (9) อุตสาหกรรมดิจิทัล
            (10) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
            (11) การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก
            (12) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
            (13) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
        1.2 ผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของคนต่างด้าวตาม 1.1
ข้อ  2   กำหนดคุณสมบัติภายใต้การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) ของคนต่างด้าวตามข้อ 1  ที่ประสงค์จะยื่นขอรับรองคุณสมบัติเพื่อประกอบการตรวจลงตราในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
        2.1 ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง
            2.1.1 กรณีผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงทั่วไป
                (1) ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานในเครือ                        ข่ายของศูนย์บุคลากรทักษะสูง (Strategic Talent Center : STC)
                (2) ต้องทำงานในกิจการที่ได้รับการรับรองว่าเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนัก                      งานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น
                (3) ต้องมีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อเดือน หรือเทียบเท่า แต่ในกรณีที่มีสัญญาจ้างโดยวิสาหกิจเริ่มต้น หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกษียณอายุแล้วซึ่งได้รับการรับรอง                        โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 50,000 บาทต่อเดือน
                (4) ต้องมีสัญญาจ้างหรือสัญญาบริการกับกิจการในประเทศหรือกิจการในต่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้ทำงานในประเทศโดยมีระยะเวลาเหลืออยู่ ไม่น้อยกว่า 1 ปีนับจากวันที่ยื่น                      ขอรับรองคุณสมบัติ
                (5) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
            2.1.2 กรณีผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันการฝึกอบรมเฉพาะทาง หรือบุคคลที่ให้บริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก                                 (Alternative Dispute Resolution)
                (1) กรณีเป็นผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ และ                            เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเป้าหมายจากหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ว่าจ้างหรือใช้ผู้เชี่ยว ชาญ
                (2)  กรณีเป็นผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานในสถาบันอุดม ศึกษาหรือสถาบันการฝึกอบรมเฉพาะทางของภาค เอกชน  ต้องได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และ                        เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานในเครือข่ายของศูนย์บุคลากรทักษะ สูง(Strategic Talent Center : STC)
                (3) กรณีเป็นบุคลากรด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution) กำหนดให้สถาบันหรือสำนักงานอนุญาโตตุลาการในประเทศ เช่น สถาบันอนุญาโต                     ตุลาการ (Thailand Arbitration Center) สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม (Thailand Arbitration Institute) เป็นต้น  เป็นผู้รับรองว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ                     ในสาขาที่เกี่ยวข้องและเข้ามาเพื่อให้บริการระงับข้อพิพาททางเลือกในราชอาณาจักร
                (4) ต้องมีสัญญาจ้างหรือสัญญาบริการ หรือหลักฐานแสดงความร่วมมือหรือการทำงานกับหน่วยงานของรัฐ สถาบันอุดมศึกษา สถาบันการฝึกอบรมเฉพาะทาง สถาบันหรือ                        สำนักงานอนุญาโตตุลาการในประเทศแล้วแต่กรณี ซึ่งกำหนดให้ทำงานในประเทศ
                (5)  ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้า เมือง
        2.2 นักลงทุน
            2.2.1 ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ ในกรณีใดกรณหนึ่ง ต่อไปนี้
                (1) ต้องมีการลงทุนโดยตรงในนามของผู้ขอไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาทในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการ ผลิตหรือการให้บริการ หรือในบริษัทเงินร่วมลง                                ทุน(Venture Capital Company)
                (2) ต้องมีการลงทุนโดยตรงในนามของผู้ขอไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาทในวิสาหกิจเริ่มต้นหรือโครงการบ่มเพาะ (Incubation) หรือโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator)
                    ทั้งนี้ สามารถลงทุนได้มากกว่า 1 กิจการ และต้องคงการลงทุนดังกล่าวไว้ในวงเงินข้างต้นตลอดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิอยู่ชั่ว คราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa)
            2.2.2 กิจการที่ผู้ขอจะจัดตั้งขึ้นหรือรับการลงทุนของผู้ขอ จะต้องได้รับการรับรองว่าเป็นกิจการที่ใช้ เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ และเป็นธุรกิจใน                        อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนัก                      งานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น
                        กรณีเป็นการลงทุนผ่านบริษัทเงินร่วมลงทุน (Venture Capital Company) จะต้องได้รับการรับรองว่ามีการลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการ ผลิต                        หรือการให้บริการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานภาครัฐที่ร่วมลงทุนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนัก                       งานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น
                        กรณีเป็นการลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้นหรือโครงการบ่มเพาะ (Incubation) หรือโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) ต้องได้รับการรับรองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น                     สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น
            2.2.3 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
        2.3 ผู้บริหารระดับสูง
            (1) ต้องมีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อเดือน หรือเทียบเท่า
            (2) ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป และมีประสบการณ์การทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องไม่ น้อยกว่า 10 ปี
            (3) ต้องมีสัญญาจ้างกับกิจการในประเทศ หรือมีสัญญาจ้างกับกิจการในต่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้ทำงานในประเทศ ทั้งนี้ สัญญาจ้างดังกล่าวต้องมีระยะเวลาเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า                 1 ปีนับจากวันที่ยื่นขอรับรองคุณสมบัติ
            (4) ต้องทำงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เช่น ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ ในกิจการที่ได้รับการรับรองว่าเป็นกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิต หรือ                    การให้บริการ  โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริม                  เศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น
            (5) ต้องทำงานในกิจการที่ได้รับการรับรองว่าเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยหน่วยงาน ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์กรมหาชน) สำนักงานส่ง                  เสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น
            (6) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
        2.4 ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น
            2.4.1 กรณีได้รับอนุญาตมีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
                (1) ต้องมีแผนการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นซึ่งใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญใน การดำเนินธุรกิจในประเทศ ซึ่งจะต้องได้รับรองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนัก                      งานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นในลักษณะ Startup Camp ที่รับรองโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น สำนักงานคณะ                                กรรมการส่งเสริมการลงทุน  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น
                (2) ต้องมีกรมธรรม์ประกันสุขภาพคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พำนักในประเทศ
                (3) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
            2.4.2 กรณีได้รับอนุญาตมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
                (1) ต้องได้รับการรับรองการเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubation) หรือโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) หรือโครงการอื่นในลักษณะเดียวกันจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยว                     ข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวต้องอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
                    ในกรณีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ ผู้ขอต้องได้รับการร่วมลงทุนจากภาครัฐหรือได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐที่ เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ                         ดิจิทัล เป็นต้น
                (2) ต้องมีเงินฝากในบัญชีในประเทศไทยหรือในประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนัก ไม่น้อยกว่า 600,000 บาทหรือเทียบเท่า ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนนับถึง                       วันที่ยื่นคำขอ
                        กรณีมีคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะต้องมีเงินฝากในบัญชีในประเทศไทยหรือในประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนัก เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 180,000 บาท                     หรือเทียบเท่าต่อคน ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
                (3)  ต้องมีกรมธรรม์ประกันสุขภาพคุ้มครองตลอดระยะเวลา ที่พำนักในประเทศทั้งสำหรับผู้ยื่นขอรับรอง คุณสมบัติ และผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
                (4)  ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้า เมือง
            2.4.3 กรณีได้รับอนุญาตมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
                (1)  ต้องจัดตั้งกิจการในประเทศที่ได้รับการรับรองว่า เป็นวิสาหกิจเริ่มต้น ในอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ                                   (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น
                (2)  ผู้ขอต้องมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน หรือเป็นกรรมการบริษัทที่ได้จัดตั้งและได้รับการรับรองใน (1)
                (3)  ต้องมีเงินฝากในบัญชีในประเทศไทยหรือในประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนัก ไม่น้อยกว่า 600,000 บาทหรือเทียบเท่า ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนนับถึง                        วันที่ยื่นคำขอ
                            กรณีมีคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะต้องมีเงินฝากในบัญชีในประเทศไทยหรือในประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนัก เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 180,000                           บาท หรือเทียบเท่าต่อคน ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
                (4)  มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่ พำนักในประเทศ ทั้งสำหรับผู้ยื่นขอ Smart Visa และผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
                (5)  ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้า เมือง
        2.5  ผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคนต่างด้าวตามข้อ 1.1 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ข้อ 3   ให้คนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2 ได้รับสิทธิเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและสิทธิอื่นๆ ตามที่มีการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ ในราชอาณาจักร            เป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบวิสาหกิจเริ่มต้น โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กระทรวงมหาดไทย         สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องประกาศกำหนด
ข้อ 4   ให้คนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2.1- 2.4 ได้รับอนุญาตให้ทำงานในราชอาณาจักรซึ่งมิใช่งานต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมาย การ                บริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าวตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้
        (1) การทำงานในกิจการของเอกชนที่ได้รับการรับรองหรือหน่วยงานของรัฐในกรณีของผู้เชี่ยว ชาญทักษะสูง
        (2) การทำงานในกิจการที่ได้รับการรับรอง ในกรณีของนักลงทุน
        (3) การทำงานในกิจการที่ได้รับการรับรอง ในกรณีของผู้บริหารระดับสูง
        (4) การทำงานหรือเข้าร่วมในโครงการหรือกิจการที่ได้รับการรับรอง ในกรณีของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น
            ในกรณีที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมการทำงานตาม (1) – (4) จะต้องขอรับรองเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
        (5) ผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสของคนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2.1 – 2.4 (ยกเว้นคู่สมรสของคนต่างด้าวตามข้อ 2.4.1) และบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเฉพาะของคนต่างด้าวที่มี                คุณสมบัติตามข้อ 2.1 (ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง) ซึ่งมีอายุ
            ตั้งแต่สิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตทำงานในราชอาณาจักรแต่ไม่เกินสิทธิของ คนต่างด้าวที่ต้องติดตาม

กฎหมายภาษีอากรที่น่า สนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9145/2560

ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 และ มาตรา 27 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4020/2561

เรื่อง ความหมายของคำว่า “ทุจริต” ที่ใช้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2561

ลูกจ้างซึ่งบอกเลิกสัญญาจ้างไม่สามารถถอนการ แสดงเจตนาได้ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 386 ของ    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 334)

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือ ค่าที่พักสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัด ท่องเที่ยวหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่ อธิบดีประกาศกำหนด

 

Comments are closed.