ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 246 เดือนมิถุนายน 2560

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 246 เดือนมิถุนายน 2560

Topix

ธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขออนุญาตในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกฎกระทรวงกำหนดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขออนุญาตในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ให้ธุรกิจบริการต่อไปนี้ไม่รวมอยู่ในบัญชีสาม แห่งพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เนื่องจากในปัจจุบันธุรกิจบริการเหล่านี้คนไทยมีความพร้อมในการประกอบธุรกิจและสามารถแข่งขันกับคนต่างด่าวได้

  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เช่น ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น
  2. ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหรือจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เช่น ธุรกิจบริการเป็นสำนักงานผู้แทนธนาคาร การเป็นตัวแทนของสถาบันการเงิน การให้บริการรับฝากเงินที่มีเงื่อนไขการเบิกถอนเงินตามคำสั่งลูกค้า การเป็นตัวแทนรับคำขอและเรียกเก็บเบี้ยประกันการส่งออกหรือค้ำประกันสินเชื่อแก่ลูกค้า เป็นต้น
  3. ธุรกิจของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เช่น การนำอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า การให้บริการการบริหารจัดการเงินสด การให้บริการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้า การให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง เป็นต้น
  4. ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
  5. ธุรกิจบริการเป็นสำนักงานผู้แทน หรือสำนักงานภูมิภาคของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
  6. ธุรกิจบริการที่มีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นคู่สัญญา

ร่างประมวลรัษฎากรแก้ไขเพิ่มเติมสำหรับราคาโอน

เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….(มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer Pricing)) (ร่าง พ.ร.บ. Transfer Pricing)

กระทรวงการคลังได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer Pricing) (ร่าง พ.ร.บ. Transfer Pricing) เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีอากรด้วยการถ่ายโอนกำไรในระหว่างกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน โดยอาศัยการกำหนดราคาโอนสำหรับธุรกรรมภายในกลุ่มของตนซึ่งสามารถควบคุมกันได้และไม่อยู่ภายใต้กลไกของตลาด ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้

หลักการและเหตุผลความจำเป็นของร่าง พ.ร.บ. Transfer Pricing

โดยที่ในปัจจุบันกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหลายรายที่มีความสัมพันธ์กันในด้านทุน การจัดการ และการควบคุม อาจมีข้อกำหนดทางด้านการพาณิชย์หรือการเงินในการทำธุรกรรมระหว่างกันแตกต่างไปจากที่ควรกำหนดหากได้ดำเนินการโดยอิสระ เนื่องจากธุรกรรมระหว่างคู่สัญญาที่มีความสัมพันธ์กันนั้นสามารถควบคุมกันได้และไม่อยู่ภายใต้กลไกของตลาด จึงอาจถูกนำมาใช้เพื่อถ่ายโอนกำไรในระหว่างกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษีอากรที่พึงต้องเสีย และมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนส่งผลกระทบอย่างมากต่อการจัดเก็บภาษีและสถานภาพทางการคลังของรัฐ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว สมควรกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันได้มีการกำหนดราคาโอนของธุรกรรมระหว่างกันแตกต่างไปจากที่ควรกำหนดหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดำเนินการโดยอิสระ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและหลักความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี โดยการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (เพิ่มมาตรา 35 ตรี มาตรา 71 ทวิ และมาตรา 71 ตรี) จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. Transfer Pricing

  1. ร่างมาตรา 71 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันมีข้อกำหนดทางด้านการพาณิชย์และการเงินระหว่างกันแตกต่างไปจากที่ควรได้กำหนดหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดำเนินการโดยอิสระ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปรับปรุงรายได้และรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว ให้ได้รายได้ที่พึงได้รับและรายจ่ายที่พึงได้จ่ายหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดำเนินการโดยอิสระ โดยในการปรับปรุงดังกล่าวจะคำนึงถึงการขจัดภาระภาษีซ้อนให้แก่คู่สัญญาด้วย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากลและข้อตกลงตามสัญญาระหว่างประเทศที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
  2. ร่างมาตรา 71 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้มีคำนิยามของ “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน” โดยให้หมายความว่า
    1. นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด
    2. ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด หรือ
    3. นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านทุน การจัดการ หรือการควบคุมในลักษณะที่นิติบุคคลหนึ่งไม่อาจดำเนินการโดยอิสระจากอีกนิติบุคคหนึ่งตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
  3. ร่างมาตรา 71 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้มีอายุความการขอคืนภาษีไว้เฉพาะสำหรับกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ วรรคหนึ่ง โดยให้มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด หรือภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการปรับปรุงนั้นจากเจ้าพนักงานประเมินเป็นหนังสือ
  4. ร่างมาตรา 71 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมีรายได้เกินกว่ารายได้ขั้นต่ำตามจำนวนที่จะกำหนดในกฎกระทรวง จัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกำหนด และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นรายการภายในกำหนดเวลาตามมมาตรา 69
    ร่างมาตรา 71 ตรี วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายงานตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดี อาจแจ้งให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันซึ่งมีรายได้เกินกว่ารายได้ขั้นต่ำตามจำนวนที่จะกำหนดในกฎกระทรวง ยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับวิเคราะห์การกำหนดราคาโอนของธุรกรรมระหว่างกันตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และผู้ได้รับแจ้งต้องปฏิบัติตามภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติได้ อธิบดีจะขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปก็ได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
  5. ร่างมาตรา 35 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดโทษปรับอาญาสำหรับผู้ใดที่ไม่ยื่นรายงานหรือเอกสารหรือหลักฐานตามมาตรา 71 ตรี หรือยื่นรายงานหรือเอกสารหรือหลักฐานโดยแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท
    ในการนี้ กรมสรรพากรจึงขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างกฎหมายดังกล่าวตามแบบฟอร์มการให้ความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. Transfer Pricing ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2560

ร่างประมวลรัษฎากรแก้ไขเพิ่มเติมสำหรับธุรกิจ(e-Business)

การรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)

  1. สภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหา
    1. ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบันช่วยให้ผู้ประกอบการที่มีถิ่นที่ตั้งในต่างประเทศสามารถประกอบธุรกิจในอีกประเทศได้อย่างสะดวกโดยผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การซื้อสินค้าและรับบริการจากผู้ประกอบการต่างประเทศผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนั้นเป็นไปอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ดี ด้วยข้อกฎหมายปัจจุบันการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการต่างประเทศดังกล่าวทำได้อย่างจำกัด อันส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐ และก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในภาระภาษีระหว่างผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ
    2. ประมวลรัษฎากรกำหนดให้สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันกรมศุลกากรกำหนดให้ ของที่นำเข้าซึ่งแต่ละรายมีราคาไม่เกิน 1,500 บาท ได้รับยกเว้นอากร ตามประเภท 12 ภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ทำให้สินค้าที่นำเข้าทางไปรษณีย์ที่มีราคาไม่เกิน 1,500 บาท ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โดยในปัจจุบันการนำเข้าสินค้าราคาไม่เกิน 1,500 บาท จากต่างประเทศทางไปรษณีย์นั้นเป็นไปอย่างกว้างขวาง ส่งผลต่อความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ว่าจะขายสินค้าที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาทก็ตาม
  2. ความจำเป็นที่ต้องตรากฎหมาย
    1. เพื่อให้การจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการต่างประเทศที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการกับผู้ซื้อในประเทศไทยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าทางไปรษณีย์ เป็นไปอย่างเหมาะสม ทั่วถึง ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมกับรูปแบบของธุรกิจในปัจจุบัน
  3. หลักการอันเป็นสาระสำคัญ
    1. A juristic person establishing under foreign law, carrying on business by the use of electronic media and engaging in the business of which features are the followings, resulting in income and profits in Thailand, shall be deemed that the foreign juristic person carries on business in Thailand. The foreign juristic person shall be liable for income tax in Thailand only from the income and profits that occur in Thailand.
      1. มีการใช้โดเมนท้องถิ่นของไทย
      2. มีการสร้างระบบการชำระเงินเป็นสกุลเงินไทยหรือมีการโอนเงินจากประเทศไทย
      3. กรณีอื่นตามที่อธิบดีกำหนด
    2. กำหนดให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการประกอบกิจการดังกล่าวอันเป็นเงินได้ประเภทค่าโฆษณาออนไลน์ ค่าใช้พื้นที่ในเว็บไซต์ หรือประเภทที่จะได้กำหนดโดยกฎกระทรวง ให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 และนำส่งกรมสรรพากร
    3. กำหนดให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างหรือให้บริการโดย การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการดังกล่าวเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
    4. กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้ขายสินค้าไม่มีรูปร่างหรือให้บริการผ่านทางเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของผู้อื่น กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันนั้นเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการดังกล่าว โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการ และเมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดเช่นเดียวกับผู้ประกอบการนั้น
    5. กำหนดให้ยกเลิกการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่มีการนำเข้าทางไปรษณีย์ที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาท
  4. ประเด็นที่จะขอรับฟังความคิดเห็น
    1. หลักการอันเป็นสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
      ในการนี้ กรมสรรพากรจึงขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ภายในวันที่ 11กรกฎาคม 2560

ดัชนีความเคลื่อนไหวของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

กฎหมายภาษีอากรที่น่าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2559

財務省令

仏暦 2559(2016)年通貨又は有価証券の国内外への送金または持込み又は持出しに関する規則について

กฎกระทรวง

กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการส่งหรือนำเงินตรา เงินตราต่างประเทศ และตราสารเปลี่ยนมือ ออกไปนอกหรือเข้ามาในประเทศ พ.ศ. 2559

กฎกระทรวง ฉบับที่ 327 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 4)

กำหนดเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560

ระเบียบกรมสรรพากร

ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email พ.ศ. 2560

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 279/2560

การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 214)

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 56)

กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สำหรับตราสารบางลักษณะ

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 293)

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ที่นักกัฬาและผู้ฝึกสอนกีฬา ได้รับจากการไห้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัล อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท

คำชี้แจงกรมสรรพากร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

กค 0702(กม.12)/210 ลงวันที่ 12 มกราคม 2560

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากการให้ของที่ระลึกแห่งการทำงานนาน

กค 0702/699 ลงวันที่ 30 มกราคม 2560

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจฌพาะ กรณีการรับซื้อลูกหนี้ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงิน

Comments are closed.