ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 270 มิถุนายน 2562

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 270 มิถุนายน 2562


ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 256 เดือนเมษายน 2561

ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix

    ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กัน และร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่อยู่ภายใต้ มาตรา 71 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562 มีมติเห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความ สัมพันธ์กัน และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 71 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป

ร่างกฎกระทรวงทั้งสองฉบับ มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

  1.  ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความ สัมพันธ์กัน เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการตรวจสอบข้อกำหนดของธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ในกรณีที่มีข้อกำหนดทางด้านการพาณิชย์หรือการ เงิน ในการทำธุรกรรมระหว่างกันแตกต่างจากที่ควรกำหนด หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ ดำเนินการโดยอิสระ
  2.  ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 71 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการกำหนดข้อยกเว้นหน้าที่การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และการนำส่งเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ข้อกำหนดของธุรก รรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี ความสัมพันธ์กัน ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจาก การประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสอง ร้อยล้านบาท โดยใช้บังคับสำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งรอบระยะเวลาบัญชี เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

    เหตุผลเนื่องจาก ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันไม่ปฏิบัติตามมาตรา 71 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ในการยื่นรายงานและเอกสาร หรือหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด จะมีโทษปรับอาญากำหนดไว้เป็นพิเศษตามมาตรา 35 ตรี ซึ่งโทษปรับอาญาตามมาตรา 35 ตรี มีอัตราโทษปรับที่สูงกว่าโทษปรับอาญาในกรณีทั่วไปมาก ร่างกฎกระทรวงนี้จึงกำหนดขนาดของกิจการโดยพิจารณาจาก ฐานรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้มีความเหมาะสมกับบทกำหนดโทษนั้น

    การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562 มีการประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2562 เป็นต้นไป พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยให้รวมถึงเรื่องการรับซื้อ รับโอน รับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของผู้ประกอบการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน รับเป็นที่ปรึกษาเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้แก่ลูกหนี้ (โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจ SMEs) สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน และจะส่งผลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้ามาบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพได้อย่าง เบ็ดเสร็จ โดยให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีหน้าที่กำกับดูแลบริษัทบริหาร สินทรัพย์ มีแนวทางหรือมาตรการในการสนับสนุนการแก้ปัญหาของลูกหนี้ของสถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินด้วย

    สาระสำคัญของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ มีดังต่อไปนี้

  1.  แก้ไขเพิ่มเติมนิยาม คำว่า “การบริหารสินทรัพย์” “สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ” และ “สถาบันการเงิน” และเพิ่มนิยามคำว่า “ผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน” และ “ผู้มีอำนาจในการจัดการ”
  2. แก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการดำเนินการของ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กล่าวคือ บริษัทบริหารสินทรัพย์จะดำเนินการเรื่องการรับซื้อ รับโอน รับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ รับเป็นที่ปรึกษาเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างนี้ ได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
  3. กำหนดลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็นหรือทำ หน้าที่กรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บทกำหนดโทษแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรณีฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติ และบทกำหนดโทษแก่ผู้มีอำนาจในการจัดการที่สั่งการ กระทำการ หรือละเว้นการกระทำ จนทำให้บริษัทบริหารสินทรัพย์กระทำความผิด
  4. กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถดำเนิน ธุรกิจในบางลักษณะเช่นเดียวกับผู้ประกอบธุรกิจ ทางการเงินได้ แต่บริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าการนั้น
  5. เพิ่มข้อจำกัดการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของผู้ ประกอบธุรกิจทางการเงิน ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เช่น การโอนสินทรัพย์นั้นไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษี
  6. เพิ่มเติมบทกำหนดโทษ กรณีกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการบริษัทบริหารสินทรัพย์แสวงหาประโยชน์ที่มิควร ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

    พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ2562 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562 จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศ (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)   
เหตุผลและความจำเป็นในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับ นี้ คือ เนื่องจากการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินของประเทศในปัจจุบันยังขาด ความชัดเจน ทำให้ไม่มีกรอบแนวทางเพื่อใช้ในการปฏิบัติขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้การควบคุมดูแลและการบริหารจัดการเกี่ยว กับการประเมินราคาทรัพย์สินของประเทศยังไม่มี ประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประกอบกับพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้บัญญัติให้กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินสมควร ให้มีคณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ แห่งรัฐและคณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อ ประโยชน์แห่งรัฐประจำจังหวัด เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สิน และการจัดทำบัญชีราคาประเมินทรัพย์สินซึ่งใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงหรือเป็นฐานในการจัด เก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามกฎหมายหรือเพื่อใช้ ประโยชน์อย่างอื่นของหน่วยงานของรัฐ

  1.  พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2562 มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้การแก้ไขเพิ่มหลักเกณฑ์การคำนวณค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมโดยให้ใช้ราคาประเมินใหม่ โดยใช้ราคาตาม “บัญชีราคาประเมินทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ แห่งรัฐ พระราชบัญญัติ การประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562 มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ กำหนดคำนิยามของ “ที่ดิน” และ “สิ่งปลูกสร้าง” ให้ชัดเจน (มาตรา 4)
  2. กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินมูลค่า ทรัพย์สินให้ชัดเจนและครอบคลุมทั้งเรื่องการจัด เก็บภาษีอากร การจัดเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น รวมถึงการนำไปใช้เพื่อการปฏิบัติงานอื่นของหน่วย งานของรัฐ (มาตรา 5)
  3.  ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการประเมิน มูลค่าทรัพย์สินให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ ภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน (มาตรา 6)
  4.  กำหนดให้คณะกรรมการประเมินมูลค่า ทรัพย์สิน มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน การกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการประเมินมูลค่า ทรัพย์สิน การให้คำปรึกษาในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (มาตรา 7)
  5.  กำหนดให้คณะกรรมการประเมินมูลค่า ทรัพย์สินประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่กำหนดมูลค่า ประเมินของทรัพย์สินซึ่งเป็นที่ดินและสิ่งปลูก สร้างที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัด พร้อมทั้งจัดทำบัญชีกำหนดมูลค่าประเมินของทรัพย์สิน และแผนที่ประกอบการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (มาตรา 12 – 14)
  6.  กำหนดให้เจ้าของทรัพย์สินที่ได้มีการ ประเมินมีสิทธิคัดค้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ต่อคณะกรรมการประเมินมูลค่าทรัพย์สินประจำ จังหวัดซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ในเขตจังหวัด นั้นได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด (มาตรา 18)
  7.  กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมี อำนาจประกาศให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่น นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้เพื่อประโยชน์ทาง เศรษฐกิจได้ (มาตรา 23)
  8.  ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐสามารถขอให้กรมธนารักษ์ดำเนินการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อ วัตถุประสงค์เฉพาะได้ (มาตรา 25)
  9.  กำหนดให้กรรมการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน กรรมการประเมินมูลค่าทรัพย์สินประจำจังหวัด และพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 27)
  10.  กำหนดให้ในระหว่างที่ยังไม่มีการประกาศ ใช้บัญชีกำหนดมูลค่าประเมินทรัพย์สินตามพระราช บัญญัตินี้ ให้นำบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาใช้เป็นบัญชีกำหนดมูลค่าประเมินของทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการประกาศใช้บัญชีกำหนดมูลค่าประเมินของทรัพย์สินเป็นครั้งแรกพร้อมกัน ทั่วประเทศ (มาตรา 28)
  11.  รับรองให้บรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการกำหนดราคาประเมินทุน ทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งยังคงใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป จนกว่าจะได้มีกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ออกใช้บังคับ (มาตรา 29)

    พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562   

เมื่อพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซ เบอร์ฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันเป็นต้นไป (28 พฤษภาคม พ.ศ.2562) เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันการให้บริการหรือประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียมมีความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ อันอาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อย ภายในประเทศ ดังนั้นเพื่อให้สามารถป้องกันหรือรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที สมควรกำหนดลักษณะของภารกิจหรือบริการที่มีความสำคัญ เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศทั้งหน่วยงาน ของรัฐและหน่วยงานเอกชน ที่จะต้องป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มิให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงด้านต่างๆ รวมทั้งให้มีหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการประสานการปฏิบัติงานร่วมกันทั้ง ภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าในสถานการณ์ทั่วไปหรือสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง ตลอดจนกำหนดให้มีแผนปฏิบัติการและมาตรการด้านการ รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีเอกภาพและต่อ เนื่อง อันจะทำให้การป้องกันและการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 

  พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งพระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะหมวดทีเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและสำนัก งานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะมีผลใช้ บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป (28 พฤษภาคม 2562) และส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด หนึ่งปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (28 พฤษภาคม 2563)
เหตุผลและความจำเป็นในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับ นี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันมีการล่วงละเมิด สิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมากจนสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือ ความเสียหาย ให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการล่วงละเมิดดังกล่าว ทำได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว ก่อให้เกิด ความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวม สมควรกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นการทั่วไปขึ้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลที่เป็นหลักการทั่วไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

  1.  การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล จะกระทำไม่ได้หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนหรือในขณะนั้น โดยการการขอความยินยอมต้องทำโดยชัดแจ้ง เป็นหนังสือหรือทำโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งต้องแจ้งวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไปด้วย
  2.  ผู้ที่มีหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วน บุคคลจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ
  3.  เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคลได้
  4.  หากมีการฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนถึง 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 ถึง 5 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

  

กฎหมายภาษีอากรที่น่า สนใจ

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2560

        เงินได้จากการรับจ้างติดต่อธุรกิจ เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) หรือ 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7843/2560

        เงินได้พึงประเมินลักษณะใดที่ผู้เสียภาษีสามารถรับรู้เป็นรายได้    

    กฎกระทรวง ฉบับที่ 344 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

    กฎกระทรวง ฉบับที่ 345 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

    กฎกระทรวง ฉบับที่ 346 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

    กฎกระทรวง ฉบับที่ 347 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

    กฎกระทรวง ฉบับที่ 348 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

    ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์(ฉบับที่ 58)

            กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์

    ข้อหารือกองบริหารการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ ประจำเดือนมกราคม 2562 2.

             การพิจารณาขอบข่ายการประกอบธุรกิจตามใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

 

Comments are closed.