ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 264 ธันวาคม 2561

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 264 ธันวาคม 2561

ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix

จุดจบคนขายและคนซื้อใบ กำกับภาษีที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

กรมสรรพากรได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและจริง จังกับผู้ประกอบการทั้งที่เป็นผู้ออกและผู้ใช้ใบ กำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2561 ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ได้ร่วมกันกระทำความผิดออกใบกำกับภาษีขายให้กับ บริษัท/ห้าง/ร้าน โดยมิได้มีการประกอบกิจการจริงอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายมาตรา 86/13 วรรคหนึ่งแห่งประมวลรัษฎากร ได้ตัดสินลงโทษจำเลยจำคุกกระทงละ 1 ปี ตามมาตรา 90/4 (3) แห่งประมวลรัษฎากร รวม 8 กระทง เป็นโทษจำคุก 8 ปี จำเลยรับสารภาพมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เป็นโทษจำคุก รวม 4 ปี ริบของกลาง (ออกใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 1 ฉบับ เท่ากับความผิด 1 กระทง)
    นายปิ่นสาย สุรัสวดี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษีในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ผู้ซื้อใบกำกับภาษีไปใช้ ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา โดยโทษทางแพ่ง ต้องรับผิดเบี้ยปรับ
2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีพร้อมทั้งเงินเพิ่มตามกฎหมายอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนเงินภาษี สำหรับโทษทางอาญา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
    หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศหรือ ศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร.1161 และหากพบเห็นการกระทำใด ๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษี ขอให้แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลต่าง ๆ
ที่ www.rd.go.th > เมนู “การแจ้งแหล่งภาษี” เพื่อที่กรมสรรพากรจะได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จ จริงต่อไป

การอนุญาตให้ใช้แรงงาน ต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริม การลงทุน

เดิมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ออก ประกาศที่ ป.1/2559 ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 เรื่อง การอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยมีสาระสำคัญเป็นการผ่อนผันให้ผู้ที่ได้รับการ ส่งเสริมการลงทุนสามารถใช้แรงงานต่างด้าวใน โครงการที่ได้รับการส่งเสริมได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 จะอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือได้ภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจ้างงาน ระหว่างรัฐ (Memorandum of Understanding: MOU) เท่านั้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
    ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรการส่งเสริมการลงทุนได้ออกประกาศที่ ป.11/2561 ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2561 ในเรื่องเดียวกันมายกเลิกประกาศที่ ป.1/2559 เพื่อเป็นการบรรเทาการขาดแคลนแรงงานและควบคุมการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวไร้ผี มือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการอนุญาตให้โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสามารถใช้แรง งานต่างด้าวไร้ฝีมือที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องเป็นแรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยภายใต้บันทึกความตกลงหรือ บันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำกับรัฐบาลต่าง ประเทศว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างงาน (MOU) เท่านั้น ทั้งนี้ ยังคงต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ ในด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

การให้การส่งเสริมกิจการ ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC)

รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ กลางธุรกิจระหว่างประเทศในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เพื่อจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนทางธุรกิจในระดับภูมิภาคและในระดับโลก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงได้กำหนดประเภท กิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center: IBC) ขึ้นมาใหม่ ตามประกาศที่ ส.6/2561 ลงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2561 เรื่องการให้การส่งเสริมกิจการศูนย์กลางระหว่างประเทศ พร้อมทั้งได้ออกประกาศที่ ง.1/2561 เป็นการงดให้การส่งเสริมการลงทุนในประเภทกิจการ 7.5 กิจการสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarters: IHQ) และประเภทกิจการ 7.6 กิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (International Trading Centers: ITC) โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศ ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในประเภทกิจการ IHQ และ ITC ไปแล้วก่อนหน้าประกาศฉบับนี้ จะยังคงได้รับการส่งเสริมการลงทุนในประเภทกิจการนั้น ๆ อยู่จนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามบัตรส่งเสริมนั้น สำหรับผู้ที่ต้องการยื่นคำขอเพื่อขอรับการส่ง เสริมการลงทุนในประเภทกิจการดังกล่าวหลังจากวัน ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2561 เป็นต้นไป จะต้องยื่นคำขอเพื่อขอรับการลงทุนดังกล่าวเป็นประเภทกิจการ 7.34 กิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center: IBC) ภายใต้กฎเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
เงื่อนไข
    1.    มีขอบข่ายธุรกิจการให้บริการแก่วิสากิจในเครือ ดังนี้

        1.1    การบริหารงานทั่วไป การวางแผนธุรกิจ และการประสานงานธุรกิจ
            1.2    การจัดหาวัตถุดิบ
            1.3    การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
            1.4    การสนับสนุนด้านเทคนิค
            1.5    การส่งเสริมด้านการตลาดและการขาย
            1.6    การบริหารด้านงานบุคคลและการฝึกอบรม
            1.7    การให้คำปรีกษาด้านการเงิน
            1.8    การวิเคราะห์และวิจับด้านเศรษฐกิจและการลงทุน
            1.9    การจัดการควบคุมสินเชื่อ
            1.10    การให้บริการด้านการบริหารเงินของศูนย์บริหารเงิน (Treasury Center)
            1.11    กิจการการค้าระหว่างประเทศ
            1.12    การให้บริการสนับสนุนอื่นๆ ตามที่กรมสรรพากรประกาศกำหนด

   2.    ต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท

   3.    ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับ IBC ไม่น้อยกว่า 10 คน เว้นแต่กรณี IBC ที่มีเฉพาะการให้บริการด้านการบริหารเงินแก่วิสาหกิจในเครือ ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะ ไม่น้อยกว่า 5 คน

    4.    กรณีเป็นการดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ จะต้องมีขอบข่ายธุรกิจในข้อ 1.1-1.10 ร่วมด้วยไม่น้อยกว่า 1 ข้อ

    5.    ไม่ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่ง ออก

    6.    ไม่สามารถขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการได้
โดยผู้ได้รับการส่งเสริมในประเภทกิจการ IBC นี้ จะได้รับสิทธิและประโยชน์ในประเภท “B1 (เฉพาะเครื่องจักรที่ใช้วิจัยและพัฒนา)”
    ส่วนใหญ่แล้วขอบข่ายธุรกิจในประเภทกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) มีลักษณะคล้ายกับขอบข่ายธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในประเภทสำนักงานใหญ่ ข้ามประเทศ (IHQ) และบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (ITC) เดิม เว้นแต่ ธุรกิจประเภทการให้คำปรึกษาและแนะนำในการประกอบธุรกิจด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเงิน การตลาด และระบบบัญชี เป็นต้นที่เดิมได้รับการส่งเสริมในประเภทกิจการ IHQ จะยังคงได้รับการส่งเสริมการลงทุนในประเภทกิจการ IBC เฉพาะแต่การให้คำปรึกษาด้านการเงินเท่านั้น

กฎหมายภาษีอากรที่น่า สนใจ

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 46) พ.ศ.2561

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226-1229/2561

สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงาน

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดี ชำนัญพิเศษที่ 935/2561

การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการส่งออกสินค้าไป ยังประเทศพม่า

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินปันผลจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์สำหรับการโอน ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2)

กค 0702/6284    ลงวันที่    9 สิงหาคม 2561

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินปันผลที่ได้รับจากนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่เสียภาษีแบบ Tax Consolidated Group

กค 0702/6493    ลงวันที่    20 สิงหาคม 2561

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีอายุความการขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ข้อหารือกองบริหารประกอบ ธุรกิจของชาวต่างชาติ ประจำเดือนกันยายน ที่ 2561 เรื่องที่ 2

กรณีคนต่างด้าวประกอบธุรกิจค้าส่ง

Comments are closed.